About

สุนัขพันธุ์บางเเก้ว













สุนัขไทยพันธุ์เดียว
ในประเทศไทยที่มีขนยาวสองชั้นหางเป็นพวง มีขน ขาหน้าคล้ายขนขาแข้งสิงห์   แผงรอบคอคล้ายสิงโตมีความเฉลียว ฉลาด ไอคิวสูง ประวัติความเป็นมา ของ สุนัขไทยพันธุ์ บางแก้ว
 จากข้อมูล ที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้วต.บางแก้ว บ้านชุมแสสงคราม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วนั้นอยู่ที่ วัดบางแก้ว ต.บางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็น ป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ชุกชุม เช่นช้างป่าเป็นโขลง ๆ หมู่ป่า ไก่ป่า สุนัขจิ้งจอก และหมาไน


1. ลักษณะหน้าเสือ ใบหน้าดูคล้ายเสือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าผากกว้าง โคนหูตั้งอยู่ห่างกัน หูเล็กแบะออกเล็กน้อย แววตาเซื่องซึม พื้นสีตามักจะเป็นสี เหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีขนย้อยจากโคนหูด้านล่างเป็นแผงที่คอ เรียกว่า แผงคอ แต่ไม่รอบคอ ขนมีทั้งฟูและไม่ฟู มีหางเป็นพวง ทั้งหาง งอ และหางม้วน แลดูดุร้าย เป็นลักษณะของสุนัขบางแก้วที่ใหญ่ที่สุด
2. ลักษณะหน้าสิงโต มีกะโหลกศีรษะเล็กกว่าลักษณะหน้าเสือ หูเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยม ป้องไปข้างหน้ารับกับใบหน้าอย่างสวยงาม ปากไม่เรียวแหลมมาก ไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป มีขนยาวตั้งแต่โคนหูลงมาด้านล่าง เป็นแผงรอบคอ และมีขนเป็นเคราจากใต้คางย้อยลงมาเหมือนคอพอกลงมาถึงคอด้านล่าง ที่ บริเวณรอบลำคอมีขนยาวโดยรอบ มีทั้งขนสั้นฟูและฟูยาว เมื่องมองจากดานหน้าจะมีลักษณะคล้ายสิงโต ลักษณะเท้ายาวอูม ขนยาวหุ้มปลายเท้าเล็กน้อย มองดูคล้ายเท้าหมี ขนมีทั้งยาวฟู สั้นฟู หางมีทั้งม้วนสูงและม้วนต่ำ เป็นพวงและไม่เป็นพวง ช่วงตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเล็ก ยามปกติแววตาและท่าทาง เซื่องซึม แต่เมื่อเป็นศัตรูปรือคนแปลกหน้า จะเปลี่ยนเป็นดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวทันที ลักษณะหน้าสิงโตเป็นลักษณะที่หายามาก นาน ๆ จึงจะพบ เห็นสักตัวหนึ่ง
3. ลักษณะหน้าจิ้งจอก มีใบหน้าแหลม หูใหญ่กว่าลักษณะหน้าเสือและหน้าสิงโต ใบหูไม่ตรงโย้ออกด้านข้าง มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลม เรียวและค่อนข้างยาว ขนอ่อนยาวเรียบ ขนหางเป็นพวง รูปร่างมีทั้งใหญ่ กลางและเล็ก อุปนิสัยไม่ค่อยดุร้ายเหมือนสองพวกแรก



เหตุผล  ที่สันนิษฐานว่า สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือด พื้นที่ในเขต ต.บางแก้ว ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ ในอดีตนั้นเป็นป่าดงพงพีที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย สัตว์ป่านานาชนิดรวม ทั้งสุนัขจิ้งจอก  และหมาไนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้กจอกและหมาไนตัวผู้จะมาแอบลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัขไทยตัวเมีย  ที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียวเพราะสุนัขป่าทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่กล้าหาญชาญชัย ว่องไว ใจปราดเปรียว แข็งแรง เมื่อมีการผสมข้ามพันธุ์กันตามธรรมชาติหรือ   เรียกง่ายๆว่าธรรมชาติเป็นผู้ผสม และคัดเลือกพันธุ์ในที่สุดก็ได้สุนัข ไทยพันธุ์บางแก้ว ซึ่งมีลักษณะดีเด่นปรากฎโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้ายอานม้า หางเป็นพวงสวยงาม มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงห์โต ดุ เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ


หลวงพ่อมาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ของวัดบางแก้ว ที่วัดของท่านเลี้ยง สุนัขไว้ไม่ต่ำกว่า  20-30 ตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา และชาวบ้านทราบกันดีว่า ใครที่เข้ามาในวัด หรือมีธุระปะปังผ่านไปผ่านมาที่วัดแต่ละครั้งจะต้องตะโกนให้เสียงแต่ไกล ๆ เพื่อให้พระอาจารย์มาก เมธาวี
ท่านช่วยดูหมาเอาไว้ก่อน มิฉะนั้นจะถูกมันไล่กัดเอากระจุย กระเจิงแน่นอน ด้วยกิติศักดิ์ในความดุของ สุนัขที่วัดบางแก้วนี้เองจึงมีผู้คนนิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้ เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เฝ้าเรือ เฝ้าแพ เฝ้าวัว เฝ้าควาย พื้นที่ ๆ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้ขยายพันธุ์ไปมากที่สุดก็คือ ต.บางแก้ว ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก แต่ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไป หลายจังหวัดแล้ว


เนื่องด้วยบริเวณวัดบางแก้วในสมัยนั้นมีลักษณะรอบ ๆ  เป็นป่า มีสัตว์ป่าอาศัยค่อยข้างชุกชุม    จนกระทั้งสุนัขตัว  นั้นได้คลอดลูกออกมา  ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากสุนัขอื่นๆ  ที่มีอยู่ในวัดทั่วไป  คือมีขนยาวฟู  คล้ายสุนัขต่างประเทศ  มีลักษณะสวยงาม  โดดเด่นน่าเลี้ยง  และมีความดุ  จากนั้นสุนัขแบบนี้ก็มีให้เห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ในวัดบางแก้ว  จนประชาชนที่ไปวัด  นั้นเห็นถึงความสวยงาม  ฉลาด  หวงของ  และดุ  มีความซื่อสัตย์ และภักดีต่อผู้เป็นเจ้าของ  จึงขอสุนัขจากท่านหลวงปู่มากมาเลี้ยง   เพื่อใช้ในการเฝ้าบ้าน  เฝ้าแพ  หรือแม้กระทั้งเฝ้าท้องไร่      ท้องนา  เพราะความหวงของและซื่อสัตย์ต่อผู้เป็นนาย

สุนัขชนิดนี้จึงแพร่ขยายออกไปทั่วหมู่บ้าน  และด้วยเหตุปัจจัยที่หมู่บ้านบางแก้วนั้นมีภูมิประเทศเป็นเกาะในช่วงฤดูน้ำหลากโดยมีแม่น้ำล้อมรอบ  และประจวบกับในช่วงดังกล่าวก็เป็นช่วงที่สุนัขนั้นเป็นสัดพอดี  สุนัขนั้นไปสามารถออกไปผสมกับสุนัขในถิ่นอื่นได้  จึงเกิดการผสมพันธุ์กันเองภายในเครือญาติเดียวกันหลายต่อหลายช่วงอายุ  จนเกิดเป็นสุนัขที่มีลักษณะที่มีลักษณะเฉพาะ  มีลักษณะต่างๆชัดเจนแตกต่างจากสุนัข พื้นบ้านโดยทั่วไป


จากนั้นเมื่อมีผู้เข้าไปพบเห็น  เกิดการชื่นชอบจึงนำออกมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในเมืองพิษณุโลก  และเรียกสุนัขดังกล่าวว่า “สุนัขบางแก้ว” ตามถิ่นกำเนิดของสุนัขนั้น    เมื่อเกิดความนิยมของคนเลี้ยงทั่วไปในเมืองพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง    จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นของผู้ที่เลี้ยงสุนัขบางแก้ว  ผู้ที่ชื่นชอบ  และหน่วยงานของรัฐ  เพื่อจะพัฒนาสุนัขบางแก้วให้มีมาตรฐาน  จากนั้นราวปี พ.ศ. 2500  จึงมีการกำหนดมาตรฐานสายพันธุ์ของสุนัขบางแก้วขึ้นมาเป็นครั้งแรก  และมีการคัดเลือกพ่อพันธุ์  แม่พันธุ์  ที่มีลักษณะตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ขึ้นมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาสุนัขบางแก้ว  รวมถึงการให้ความรู้ในการเลี้ยงการให้ยากับผู้เลี้ยง จากหน่วยงานของรัฐ  ทำให้สุนัขบางแก้วมีอัตราการรอดมากยิ่งขึ้น    ด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ  อย่างของสุนัขบางแก้วที่มีความโดดเด่นต่อผู้ที่พบเห็น  รวบถึงผู้ที่เลี้ยงไว้  ทำให้สุนัขบางแก้วกายเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบเลี้ยงสุนัขทั่วไป  ด้วยความจงรักภักดี  ซื่อสัตย์  รักเจ้าของ  เฝ้าระวังภัยให้กับบ้านเรือนอย่างไว้ใจได้เป็นอย่างดี




สุนัขไทยบางแก้ว  มีจุดกำเนิดอยู่ที่ วัดบางแก้ว  บ้านบางแก้ว  ต.ท่านางงาม  อ.บางระกำ  จ.พิษณุโลก  ในช่วงสมัยหลวงปู่มาก  เป็นเจ้าอาวาสรุ่นที่ 3  ของวัดบางแก้ว  ท่านเป็นผู้มีความเมตตาต่อสัตย์  และเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นจำนวนมากมายหลายชนิด  ทั้งสัตว์บ้านและสัตว์ป่า  รวมทั้งสุนัขด้วย  ซึ่งสุนัขที่ท่านเลี้ยงนั้นไม่มีการกล่าวกันมาว่าเป็นสุนัขสายพันธุ์ใดอย่างชัดเจน  แต่ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมานั้นท่านมีสุนัขสีดำขนยาวเพศเมียตัวหนึ่ง  เมื่อเป็นสัดในฤดูผสมพันธุ์ได้เข้าไปในแนวป่ามีการสันนิฐานว่าไปผสมกับหมาป่า  เนื่องด้วยบริเวณวัดบางแก้วในสมัยนั้นมีลักษณะรอบ ๆ  เป็นป่า มีสัตว์ป่าอาศัยค่อยข้างชุกชุม    จนกระทั้งสุนัขตัว  นั้นได้คลอดลูกออกมา  ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากสุนัขอื่นๆ  ที่มีอยู่ในวัดทั่วไป  คือมีขนยาวฟู  คล้ายสุนัขต่างประเทศ  มีลักษณะสวยงาม  โดดเด่นน่าเลี้ยง  และมีความดุ  จากนั้นสุนัขแบบนี้ก็มีให้เห็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ในวัดบางแก้ว  จนประชาชนที่ไปวัด  นั้นเห็นถึงความสวยงาม  ฉลาด  หวงของ  และดุ  มีความซื่อสัตย์ และภักดีต่อผู้เป็นเจ้าของ  จึงขอสุนัขจากท่านหลวงปู่มากมาเลี้ยง   เพื่อใช้ในการเฝ้าบ้าน  เฝ้าแพ  หรือแม้กระทั้งเฝ้าท้องไร่      ท้องนา  เพราะความหวงของและซื่อสัตย์ต่อผู้เป็นนาย
          




สุนัขชนิดนี้จึงแพร่ขยายออกไปทั่วหมู่บ้าน  และด้วยเหตุปัจจัยที่หมู่บ้านบางแก้วนั้นมีภูมิประเทศเป็นเกาะในช่วงฤดูน้ำหลากโดยมีแม่น้ำล้อมรอบ  และประจวบกับในช่วงดังกล่าวก็เป็นช่วงที่สุนัขนั้นเป็นสัดพอดี  สุนัขนั้นไปสามารถออกไปผสมกับสุนัขในถิ่นอื่นได้  จึงเกิดการผสมพันธุ์กันเองภายในเครือญาติเดียวกันหลายต่อหลายช่วงอายุ  จนเกิดเป็นสุนัขที่มีลักษณะที่มีลักษณะเฉพาะ  มีลักษณะต่างๆชัดเจนแตกต่างจากสุนัข พื้นบ้านโดยทั่วไป 



จากนั้นเมื่อมีผู้เข้าไปพบเห็น  เกิดการชื่นชอบจึงนำออกมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในเมืองพิษณุโลก  และเรียกสุนัขดังกล่าวว่า “สุนัขบางแก้ว” ตามถิ่นกำเนิดของสุนัขนั้น    เมื่อเกิดความนิยมของคนเลี้ยงทั่วไปในเมืองพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง    จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นของผู้ที่เลี้ยงสุนัขบางแก้ว  ผู้ที่ชื่นชอบ  และหน่วยงานของรัฐ  เพื่อจะพัฒนาสุนัขบางแก้วให้มีมาตรฐาน  จากนั้นราวปี พ.ศ. 2500  จึงมีการกำหนดมาตรฐานสายพันธุ์ของสุนัขบางแก้วขึ้นมาเป็นครั้งแรก  และมีการคัดเลือกพ่อพันธุ์  แม่พันธุ์  ที่มีลักษณะตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ขึ้นมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาสุนัขบางแก้ว  รวมถึงการให้ความรู้ในการเลี้ยงการให้ยากับผู้เลี้ยง จากหน่วยงานของรัฐ  ทำให้สุนัขบางแก้วมีอัตราการรอดมากยิ่งขึ้น    ด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ  อย่างของสุนัขบางแก้วที่มีความโดดเด่นต่อผู้ที่พบเห็น  รวบถึงผู้ที่เลี้ยงไว้  ทำให้สุนัขบางแก้วกายเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบเลี้ยงสุนัขทั่วไป  ด้วยความจงรักภักดี  ซื่อสัตย์  รักเจ้าของ  เฝ้าระวังภัยให้กับบ้านเรือนอย่างไว้ใจได้เป็นอย่างดี

Leave a Reply